วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

Elizabeth : The Golden Age





ในปี ค.ศ. 1585 หลังการปกครองนานเกือบ 30 ปี ของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (เคท บลานเชทท์) สเปนภายใต้การนำของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน (จอร์ดี้ มอลล่า) กษัตริย์ผู้มีศักดิ์เป็นพระเทวัน (พี่เขย) ของสมเด็จพระราชินีฯอลิซาเบธ ผู้ซึ่งเคร่งครัดในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต้องการจะกำจัดพระนางทิ้ง เนื่องจากทรงเห็นว่าพระนางนั้นเป็นโปรเตสแตนต์ เสมือนพวกนอกรีต ดังนั้นจึงได้ทรงสายลับหลายคนเข้าสู่อังกฤษเพื่อหาทางที่จะกำจัดพระนางลงเสีย

ขณะที่สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสเปนกับอังกฤษกำลังตึงเครียด ในอีกทางหนึ่ง พระนางได้ชื่อว่าทรงเป็นราชินีพรหมจรรย์ที่มิเคยได้ผ่านการอภิเษกสมรสกับ ชายใด มีราชทูตจากหลายประเทศพยายามเสนอตัวเจ้านายของตนเพื่อเป็นคู่อภิเษกกับพระ นาง แต่พระนางไม่ปักพระทัยกับชายใด ๆ จนกระทั่งวันหนึ่ง พระนางได้พบกับ เซอร์ วอลเตอร์ ราเลกห์ (ไคลฟ์ โอเวน) นักเดินเรือผู้แสวงหาโลกใหม่ เขาทำให้พระนางทึ่งและสนพระทัยในตัวเขา แต่ราเลกห์ชื่นชอบพระนางในฐานะราชินีเท่านั้น ราเลกห์เพียงต้องการขอพระราชานุญาตให้เดินเรือไปแสวงหาอาณายิคมใหม่ ๆ ในนามของจักรวรรดิอังกฤษ และแอบได้เสียกับ เบสส์ (แอ็บบี้ คอร์นิช) นางกำนัลคนสนิท

ในขณะเดียวกัน สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ (ซาแมนธา มอร์ตัน) พระขนิษฐาต่างพระมารดาของสมเด็จพระราชินีฯอลิซาเบธ ผู้ซึ่งมีสิทธิ์ในการที่จะครองบัลลังก์อังกฤษเช่นเดียวกัน ซึ่งถูกควบคุมตัวให้อยู่แต่ในปราสาท ก็ได้ดำเนินแผนลับร่วมกับพระเจ้าเฟลิเปฯ เมื่อการลอบสังหารพระนางฯเกิดขึ้นแต่ล้มเหลว ผู้กระทำการถูกจับกุมตัวได้และซัดทอดมาถึงพระนาง พระนางถูกตัดสิทธิลงโทษด้วยการประหารชีวิตภายในพระราชวัง ซึ่งสมเด็จพระราชินีฯอลิซาเบธ ทรงเศร้าพระทัยเป็นอย่างมาก

การสิ้นพระชนม์ด้วยการถูกสำเร็จโทษของสมเด็จพระราชินีฯแมรีที่ 1 ทำให้พระเจ้าเฟลิเปฯเร่งส่งกองทัพเรืออาร์มาดา อันเกรียงไกรของสเปนเข้าสู่ชายฝั่งอังกฤษ โดยหวังจะจะบุกเข้ามาถึงแม่น้ำเทมส์ ถึงพระนครลอนดอนเมืองหลวง พระนางตัดสินพระทัยทำศึกครั้งนี้ที่เดิมพันด้วยพระชนม์ชีพและบ้านเมือง ทั้ง ๆ ที่มีกำลังพลน้อยกว่า โดยมีเซอร์ฟรานซิส วอลซิ่งแฮม (เจฟฟรีย์ รัช) ขุนนางผู้ภักดีคอยเคียงข้าง

----------------------------------------------------------------------------------------------------------

แผนการล้มล้างสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ถูกเปิดเผยบ่อยครั้งขึ้น และอีกครั้งหนึ่งโดยการสนับสนุนลับๆ ของพระนางแมรีใน พ.ศ. 2129 ทำให้พระนางถูกประหารชีวิตในปีต่อมา นโยบายต่อต้านและเข้มงวดกับพวกนับถือศาสนาโรมันคาทอลิกเพิ่มความรุนแรงขึ้น มีผลให้อังกฤษสนับสนุนฝ่ายกบฏชาวฮอลันดาที่ต่อต้านสเปน มีการ “แต่งตั้งโจรสลัด” อย่างเป็นงานเป็นการ ดังเช่นจอห์น ฮอว์ลีน และ ฟรานซิส เดรกเพื่อคอยดักปล้นทรัพย์สินของพวกสเปนในโลกใหม่ ปรากฏการณ์เหล่านี้ยั่วยุให้สเปนก่อสงครามรุกรานอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2101 กองเรืออาร์มาดาอันยิ่งใหญ่ของสเปนได้บุกเข้ามาปิดช่องแคบอังกฤษ แต่ก็ถูกทำลายจากทั้งพายุและการตีโต้กลับจากฝ่ายอังกฤษจนสูญเสียเรือเป็นจำนวนมากพ่ายแพ้อย่างบอบช้ำจนต้องถอยกลับสเปน

ตลอดรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระองค์ได้เพิ่มพันธมิตรและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่นิกายโปรแตสแตนท์ มากขึ้น และในขณะเดียวกันก็แบ่งแยกศัตรูฝ่ายคาทอลิกรุนแรงมากขึ้นด้วย พระนางแสร้งยอมให้เชื้อพระวงศ์ต่างประเทศหลายรายเจรจาขออภิเษกสมรสกับ พระองค์ แต่พระองค์ก็มิได้จริงจังและมิได้ทรงกำหนดให้มีการสืบรัชทายาทไว้แต่อย่างใด และด้วยการสิ้นพระชนม์ของพระราชินีแมรีแห่งสกอตแลนด์ ทำให้พระนางได้ทรงทราบด้วยความพอพระทัยว่าองค์รัชทายาท คือพระเจ้าเจมส์ที่ 1 เป็นโปรแตสแตนท์ พระองค์ได้มีสัมพันธ์ลึกซึ้งกับขุนนางสำคัญคือ โรเบิร์ต ดัดเลย์ เอิร์ลแห่งลีเซสเตอร์ และต่อมากับโรเบิร์ต เดอเวรัวซ์ เอิร์ลแห่งเอสเซกซ์ จนกระทั่งท่านเอิร์ลถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏในปี พ.ศ. 2144

ยุคสมัยของพระนางอลิซาเบธ ได้รับการเรียกว่ายุคอลิซาเบธัน หรือยุคทอง เนื่องจากเป็นยุคที่อังกฤษขยายแสนยานุภาพไปทั่วโลก ในยุคสมัยนี้ ได้มีชาวอังกฤษผู้โด่งดังในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย เช่น กวีชื่อก้องโลก วิลเลียม เชกสเปียร์ คริสโตเฟอร์ มาโลว์ และ จอห์น เบ็นสัน ก็ได้มีเริ่มมีชื่อเสียงในยุคนี้ ฟรานซิส เดรก ได้เป็นชาวอังกฤษคนแรกที่เป็นนักเดินเรือสำรวจรอบโลก ฟรานซิส เบคอน ได้เสนอความคิดทางปรัญชาและทางการเมือง เซอร์ วอลเตอร์ ราเลย์ และ เซอร์ ฮัมเฟรย์ กิลเบิร์ต ได้สร้างอาณานิคมของอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนือ


การแผ่อำนาจในระดับนานาชาติ

นโยบายด้านการงบประมาณของพระองค์สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างแก่ประชาชน มีการขึ้นอัตราภาษีเพื่อระดมเงินให้เพียงพอกับการทำสงครามในต่างประเทศ การเกิดความอดอยากข้าวยากหมากแพงในช่วงประมาณ พ.ศ. 2135-40 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจตกต่ำและเกิดความไม่สงบในสังคม รัฐบาลจึงพยายามแก้ด้วยการออก “กฎหมายคนจน” (Poor Law) เมื่อ พ.ศ. 2140 โดยเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากท้องถิ่นไปอุดหนุนคนยากไร้ การอวดอำนาจทางทะเลของอังกฤษก่อให้เกิดการเดินทางท่องทะเลเพื่อค้นหา อาณานิคมใหม่ เซอร์ฟรานซิส เดรกเดินทางโดยเรือรอบโลกสำเร็จเป็นครั้งแรก เซอร์วอลเตอร์ ราเลย์เดิน ทางสำรวจพบชายฝั่งอเมริกาเหนือและเดินทางไปมาอีกหลายครั้งระหว่าง พ.ศ. 2125-32 แต่อาณานิคมที่แท้จริงเพียงแห่งเดียวของอังกฤษในสมัยของพระองค์คือ “ไอร์แลนด์” ซึ่งเป็นที่ซึ่งชาวอังกฤษเข้าไปหาผลประโยชน์ด้วยการเอารัดเอาเปรียบคนพื้น ถิ่นชาวไอร์แลนด์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นเหตุให้การก่อกบฏที่รุนแรงภายใต้การนำของฮิวจ์ โอนีล เอิร์ลแห่งไทโรนเมื่อ พ.ศ. 2140

ราชินีเอลิซาเบธทรงมีพระอารมณ์ร้อน และบางครั้งทรงเป็นผู้นำที่ไม่เด็ดขาด บ่อยครั้งที่ที่เหล่าที่ปรึกษาส่วนพระองค์ต้องช่วยพระองค์จากศัตรูทางการ เมืองและเหล่าข้าศึก อย่างไรก็ดี พระองค์ทรงมีความสุนทรีย์ทางบทกวีเป็นอย่างมาก ดังเช่น พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 พระบิดาของพระองค์ พระองค์ทรงเขียนวรรณกรรมไว้หลายเรื่อง และพระองค์ยังทรงตั้ง Royal Charters คือ หน่วยงานหลวงมาดูแลกิจการของอังกฤษหลายแห่ง วิทยาลัยทรินิตี้ ณ กรุงดับบลิน (Trinity College, Dublin) ในปี พ.ศ. 2135(ค.ศ. 1592) และ บริษัทบริติชอินเดียตะวันออก (British East India Company) ในปี พ.ศ. 2143(ค.ศ. 1600)

เวอร์จิเนีย หนึ่งในอาณานิคมอเมริกาเหนือของอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันคือรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ถูกตั้งชื่อขึ้นตามสมญานามของราชินีเอลิซาเบทที่ 1 ราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์

สวรรคต
จากการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2146 ราชวงศ์ทิวดอร์ก็สิ้นสุดลงไปด้วย การสืบต่อราชบัลลังก์โดย พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สจวร์ตเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การครองราชย์ที่ยาวนานของพระองค์ตรงกับช่วงที่อังกฤษเริ่มมีแสนยานุภาพทางทะเลของโลกและช่วงที่เรียกว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปะของอังกฤษ" (English Renaissance) การเป็นตำนาน "พระราชินีพรหมจรรย์" ของพระองค์ที่พระองค์เองก็มีส่วนสนับสนุนให้เรียกพร้อมกับกวีและนักแต่งบท ละครในราชสำนักเพื่อให้คนทั่วไปที่รู้จักไปในทางนั้น กลายเป็นสิ่งบดบังบทบาทของพระองค์ในฐานะเป็นผู้สร้างสำนึกแห่งความเป็นชาติ ของอังกฤษไปสิ้น

ข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki

 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น